manoraa_advertisement_2016

สืบเนื่องตามคำเชิญไป Cambridge

ไป visit lab ดังและฟังข่าว
จะบอกเล่าเรื่องเข้าเมืองเป็นเรื่องราว
ได้ไปโน้มน้าวเค้ามาร่วมงานกัน
ที่ Biochemistry department
ซึ่งตั้งเป็นตึกสองฝั่งสูงตระหง่าน
เป็นแหล่งรวม Nobel Prizeในตำนาน
ที่กล่าวขานกันนานมาถึงสิบคน
วันเสาร์ได้ไปดู Science Festival
เขาได้เอาเห็บน้ำให้ส่องกล้อง
ว่าตัวมันมีอะไรอยู่ในท้อง
แล้วก็ส่องซูมไปดูที่หัวใจ
แล้วเพิ่มยาลงไปให้ใจเต้น
แล้วก็เห็นว่าเร็วขึ้นมันเคลื่อนไหว
จากนั้นนับจังหวะรออีกต่อไป
แล้วคูณดูว่าไวขึ้นหรือช้าลง
ห้องข้างๆ มีฉายภาพสามมิติ
ให้ดูซิว่าโปรตีนสวยแค่ไหน
หาโครงสร้างออกมาได้อย่างไร
เอาเครื่องมือที่ต้องใช้มาจัดวาง
ต้องเริ่มจากอยากได้ยีนตัวไหน
แล้วใส่ไปให้เชื้อผลิตขึ้นก่อน
แล้วเอาไปปั่นเซลล์แยกตะกอน
เอาก้อนเซลล์มา break ให้ได้โปรตีน
แล้วแยกเอาโปรตีนที่หวังไว้
โดยเทในคอลัมน์ช่วงส่วนใส
ทำโปรตีนให้ข้นขึ้นอย่างว่องไว
แล้วเอาไปตกผลึกต้องฝึกนาน
ผลึกผ่านเอกซเรย์แล้วเป็นจุดจุด
ดีสุดสุดเรียกว่ามี diffraction
จากนั้นใช้โปรแกรมมาทำอีกนาน
ต่อเลโก้ในหมอกม่านอิเล็กตรอน
mainchainมันม้วนพับขดไปมา
ที่สุดก็ต่อออกมาเป็นก้อนก้อน
ตรงไหนแหว่งก็เว้นไว้ให้ขาดตอน
แล้วทุกท่อนต่อมาได้เป็น domain
ได้โปรตีนที่สวยงามหลายชนิด
ทั้งมีพิษมีคุณที่ไพศาล
เป็นเป้าหมายของยามายาวนาน
ที่โรคพาลจะไม่หายเพราะโปรตีน
มันกลายพันธุ์ไม่จับยาเรียกว่าดื้อ
มันก็คือจับยาได้ไม่เจ๋งเป้ง
จับจับหลุดหลุดไปอย่างนั้นเอง
ยาที่เก่งต้องจับแน่นกับโปรตีน
เช่นถ้าเซลล์มันโตเร็วหยุดไม่ได้
เราก็ใช้ยาไปจับโปรตีนตัวเก่ง
พอสังเคราะห์สารไม่ได้ตายไปเอง
ยาจึงเร่งให้เชื้อตายในบัดดล
หน้าที่เราคือวิจัยพัฒนา
สร้าง platform ศึกษาเป็นระบบ
ส่วนของยาที่สำคัญค้นให้พบ
ฐานข้อมูลมาสมทบบน server
ตั้งต้นจากผลึก X-ray
คู่สารเคมีที่มีเยอะเยอะ
เรียกว่าพวก protein monomer
มา superimpose กันซ้อนทับไป
แล้ววิเคราะห์ว่าอะตอมตรงไหนบ้าง
ที่สามารถสร้างพันธะเคมีได้
กับโปรตีนเป้าหมายทุกตัวไป
เอาไว้ใช้ออกแบบยายับยั้งมัน
แล้วศึกษาหาส่วนที่ต่างบ้าง
ว่ามีช่วงกว้างมากน้อยแค่ไหน
ส่วนที่เท่ากันนั้นไม่เป็นไร
เพราะเราใช้ regression ศึกษา trend
แล้วเอาโปรตีนทั้งหมดในโลกนี้
มารวมที่มโนราเป็น workbench
มีข้อมูลมากมายเอามา train
คัดสรรอะตอมเด่น isostere
ว่าโครงหลักนั้นดีจริงหรือไม่
ถ้าเปลี่ยนได้ต้องเพิ่มลดหรือคงอยู่
สถิติชี้วัดให้ได้รู้
ว่าจับคู่แน่นขึ้นได้อย่างไร
กลายเป็นฐานข้อมูลการศึกษา
ให้นักวิทย์ค้นคว้า pathway ได้
ที่ว่ายาดีนั้นดีเพราะอย่างไร
มีส่วนไหนส่งผลต่อกลไก
อันร่างกายมนุษย์นั้นสุดหยั่ง
แต่ก็ยังศึกษาได้ทำไมต่าง
ชาติพันธุ์ผิวกายสรรพางค์
ถูกสรรสร้างตามรหัส DNA
และมีส่วนน้อยนักที่มักแม่น
จะถูกแทนที่ด้วย SNPs บ้าง
ทำให้กลายพันธุ์ไปและเป็นลาง
ว่าจะเป็นโรคทางพันธุกรรม
ทั้งหมดนี้จดในฐานข้อมูล
จากจุดศูนย์กลางที่เมือง Cambridge
Manoraa จะพาเชื่อมต่อความคิด
มาปะติดปะต่อเป็นเรื่องราว
ว่าสารเคมีนี้อยู่ที่ใด
เอาไปใช้กับเป้าหมายใดได้บ้าง
เป้าหมายนั้นจับตรงไหนจะได้วาง
ส่วนต่างๆต่อเค้าเป็นโมเลกุลยา
เพราะเลือกเฟ้น pathway ที่สำคัญ
สกัดกั้น node ที่มีปัญหา
ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยนักออกแบบยา
ให้คัดหาสารที่มีแนวโน้มดี
จากข้อมูลที่มนุษย์เคยค้นพบ
มาบรรจบปลายทางที่ server นี้
หน้าที่ใหญ่ของ ดร ดวงฤดี
คือไปปาฐกที่ EBI
เริ่มจากคุยกับอดีต Director
ชื่อของเธอคือ เดม เจเนท ทอนตัน
เธอบอกว่างานนี้ดีเหมือนกัน
แต่ความฝันนั้นดูยากลำบากจัง
เธอให้รายชื่อยาวให้เข้าหา
เจรจาเชื่อมต่อข้อมูลเหล่านั้น
งานสำเร็จลุล่วงได้ในไม่นาน
ดูเหมือนฝันแต่ก็ใช่จะไม่จริง

โดยดวงฤดี ธารรำลึก

 

13619792_886119294833504_2095176471450987181_n